พญาวังเรืองนาม   พระธาตุงามเรื่องชื่อ   น้ำตกสวยเลื่องลือ   นามนี้คือวังเหนือ

อำเภอวังเหนือ

วังเหนือ (คำเมืองLanna-Wang Nuea.png) เป็นอำเภอที่อยู่เหนือสุดของจังหวัดลำปาง

Lanna-Wang Nuea.png

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอวังเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

อำเภอวังเหนือเดิมชื่อว่า เมืองวัง หรือ เวียงวัง สันนิษฐานว่าได้ตั้งขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 6
(พ.ศ. 500-599) ซึ่งปรากฏตามหลักฐานในหนังสือพงศาวดารชาติไทยเล่ม 2 ของพระบริหารเทพธานี ได้กล่าวถึงแว่นแคว้นยวนเชียง (หน้า 4 บรรทัดที่ 4-6) ว่า "เมื่อภายหลัง พ.ศ. 590 แว่นแคว้นยวนเชียงก็แยกตั้งบ้านเมืองออกไปทางทิศตะวันตกอีกหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง (เวียงป่าเป้า) เวียงฮ่อ ดงเวียง เมืองวัง (วังเหนือ) แจ้ห่ม เป็นต้น" และในหนังสือประวัติศาสตร์เชียงรายซึ่งจัดพิมพ์ในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ หน้า 13 ก็ปรากฏความคล้ายกันคือ "ในราวพุทธศตวรรษที่ 5 มีพวกไทยถอยร่นจากตอนใต้ประเทศจีนปัจจุบันมาสมทบกับพวกไทยที่เมืองเชียงลาวเพิ่มขึ้นมากทุกที ซึ่งขยายเมืองให้กว้างขวางออกไปอีก เรียกว่า แคว้นชุนยางหรือยวนเชียว มีอาณาเขตแผ่ไปถึงหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง (เวียงป่าเป้าแจ้ห่ม เวียงฮ่อ ดงเวียง เวียงวัง (วังเหนือ) และเชียงแสน ทั้งนี้ภายหลัง พ.ศ. 590 เป็นต้นมา"

พุทธศตวรรษที่ 18 (ราว พ.ศ. 1713) กาลสมัยแห่งราชอาณาจักรโยนกบุรีศรีช้างแสน ถูกกองทัพเจ้าคำฟ้าหรือขุนเสียขวัญฟ้าแห่งอาณาจักรเมายกมาตีจนพ่ายแพ้ ด้วยการนำของพระเจ้าไชยศิริแห่งเมืองไชยปราการได้เผาบ้านเมืองก่อนอพยพกองทัพประชาราษฎรขอบขัณฑสีมาผ่านเข้ามาในเขตเมืองวัง และพักขบวนทัพ ณ เขาดอยด้วน ก่อนจะอพยพประชาราษฎรล่วงไปถึงเมืองแปบ (เมืองกำแพงเพชร) ในขณะนั้น กลุ่มคนในขบวนอพยพดังกล่าวจำนวนหนึ่งได้แยกตัวออกมาตั้งบ้านสร้างเมืองอยู่ ณ เมืองวัง บริเวณแถบต้นแม่น้ำวังอันเป็นแหล่งพื้นที่อันอุดมสงบสมบูรณ์ โดยการนำของเจ้าพ่อพญาวัง และในยุคนี้มีการค้าขายและผลิตสินค้า ประเภทถ้วยชามเครื่องปั้นดินเผาผางประทีป ที่มาจากเตาเผาสันกำแพง เชียงใหม่ เตาเผาพาน เชียงราย หรือเตาเผาวังเหนือ เวียงกาหลง และมีการค้นพบชิ้นถ้วยที่ผลิตในยุคราชวงค์หมิงประเทศจีน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในอดีตเกิดภาวะสงครามขึ้นระหว่างพม่ากับล้านนา ทำให้ผู้คนต่างหนีภัยไปในทิศทางต่าง ๆ จนกลายเป็นสภาพเมืองร้าง จนถึงช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. 2373 เมืองวังกลับคืนสู่สภาพความเป็นชุมชนเมืองอีกครั้งหนึ่ง หลังจากพม่าสิ้นอำนาจการปกครอง ในสมัยพระเจ้ากาวิละสามารถขับไล่พม่าได้สำเร็จ

  • วันที่ 1 พฤศจิกายน 2468 ตั้งตำบลทุ่งฮั้ว แยกออกจากตำบลวังเหนือ
  • วันที่ 24 พฤษภาคม 2474 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลำปางและจังหวัดเชียงราย โดยโอนพื้นที่หมู่ 1 บ้านงิ้วเฒ่า และหมู่ 15 บ้านผาวี (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งฮั้ว อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ไปขึ้นกับตำบลป่าหุ่ง อำเภอเมืองพาน จังหวัดเชียงราย
  • วันที่ 21 มีนาคม 2480 แยกพื้นที่ตำบลทุ่งฮั้ว ตำบลวังเหนือ ตำบลวังใต้ และตำบลร่องเคาะ
    จากอำเภอแจ้ห่ม มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังเหนือ และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอแจ้ห่ม
  • วันที่ 9 มกราคม 2481 ยุบตำบลวังใต้ และโอนพื้นที่หมู่ 1-7,9-12 ของตำบลวังใต้ (ที่ถูกยุบ) ไปขึ้นกับตำบลวังเหนือ กับโอนพื้นที่หมู่ 8,13-17 ของตำบลวังใต้ (ที่ถูกยุบ) ไปขึ้นกับตำบลร่องเคาะ
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลวังเหนือ ในท้องที่บางส่วนของตำบลวังเหนือ
  • วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม เป็น อำเภอวังเหนือ
  • วันที่ 21 กันยายน 2514 ตั้งตำบลวังใต้ แยกออกจากตำบลวังเหนือ และตำบลร่องเคาะ
  • วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านใหม่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลวังเหนือ
  • วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลวังทอง แยกออกจากตำบลร่องเคาะ และตำบลวังใต้ ตั้งตำบลวังซ้าย แยกออกจากตำบลวังเหนือ
  • วันที่ 12 กันยายน 2533 ตั้งตำบลวังแก้ว แยกออกจากตำบลทุ่งฮั้ว
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลวังทรายคำ แยกออกจากตำบลวังใต้
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลวังเหนือ และสุขาภิบาลบ้านใหม่ เป็น เทศบาลตำบลวังเหนือ และเทศบาลตำบลบ้านใหม่ ตามลำดับ ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ
    รวมกับเทศบาลตำบลวังเหนือ

การแบ่งเขตการปกครอง

อำเภอวังเหนือแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 80 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร
1. ทุ่งฮั้ว Thung Hua 12 1,888 5,703
2. วังเหนือ Wang Nuea 9 2,538 7,207
3. วังใต้ Wang Tai 7 1,036 3,422
4. ร่องเคาะ Rong Kho 17 3,220 10,331
5. วังทอง Wang Thong 8 1,766 5,237
6. วังซ้าย Wang Sai 10 1,707 5,061
7. วังแก้ว Wang Kaeo 7 1,138 3,444
8. วังทรายคำ Wang Sai Kham 8 1,328 4,234