สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
• ความสูงจากระดับน้ำทะเล
ไม่เกิน 1,000 เมตร
• ความลาดเอียงไม่เกิน
5 เปอร์เซ็นต์
• ดินร่วน
ดินร่วนเหนียว
ดินร่วนทราย
หรือดินเหนียว
• ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
มีอินทรียวัตถุไม่น้อยกว่า
1.0 เปอร์เซ็นต์
• มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ไม่น้อยกว่า
10 ส่วนในล้านส่วน
โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ไม่น้อยกว่า
60 ส่วนในล้านส่วน
• การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี
• ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า
25 เซนติเมตร
• ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง
5.5-7.0
• อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตประมาณ
25-35 องศาเซลเซียส
• ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ
1,000-1,200 มิลลิเมตรต่อปี
การปลูก
ฤดูปลูก
ต้นฤดูฝน
เดือนเมษายน-พฤษภาคม
ปลายฤดูฝนเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
การเตรียมดิน
• ไถด้วยผาลสาม
1 ครั้ง ลึก 20-30
เซนติเมตร
ตากดิน 7-10 วัน
พรวนด้วยผาลเจ็ด
1 ครั้ง ปรับระดับดินให้สม่ำเสมอ
แล้วคราดเก็บ
เศษซากราก
เหง้า หัวและไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
• วิเคราะห์ดินก่อนปลูก
ถ้าดินมีความเป็นกรดด่างต่ำกว่า
5.5 ก่อนเตรียมดิน
ควรหว่านปูนขาว
อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่
สำหรับดินร่วนทราย
และอัตรา 200-400 กิโลกรัมต่อไร่
สำหรับดินร่วน
ดินร่วนเหนียว
หรือดินเหนียว
แล้วไถกลบ
ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า
1.0 เปอร์เซ็นต์
ก่อนเตรียมดินให้หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว
อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่
สำหรับดินเหนียวและดินร่วนเหนียว
และอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่
สำหรับดินร่วนและดินร่วนทราย
หรือหว่านพืชบำรุงดิน
เช่น
ถั่วเขียว
อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่
หรือ
ถั่วแปบ
อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่
แล้วไถกลบในระยะเริ่มติดฝักหรือหลังเก็บเกี่ยวพืชบำรุงดิน
วิธีการปลูก
ปลูกด้วยแรงงาน
• ระยะระหว่างแถว
75 เซนติเมตร
ระยะระหว่างหลุม
25 เซนติเมตร
อัตราปลูก 8,500 ต้นต่อไร่
ใช้เมล็ดพันธุ์
3-4 กิโลกรัมต่อไร่
ใช้จอบขุดเป็นหลุม
หรือรถไถเดินตามหรือแทรกเตอร์ติดหัวเปิดร่อง
หยอดเมล็ดหลุมละ
1-2 เมล็ด กลบดินให้แน่น
• เมื่อข้าวโพดอายุประมาณ
14 วันหลังงอก
ถอนแยกให้เหลือหลุมละ
1 ต้น
ปลูกด้วยเครื่องปลูก
• ใช้รถแทรกเตอร์ลากจูงเครื่องปลูกพร้อมใส่ปุ๋ยติดท้าย
ปรับให้มีระยะระหว่างแถว
75 เซนติเมตร
ระยะระหว่างหลุม
20 เซนติเมตร
จำนวน 1 ต้นต่อหลุม
หรืออัตราปลูกประมาณ
10,600 ต้นต่อไร่
ใช้เมล็ด 2-3 กิโลกรัมต่อไร่
โดยไม่ถอนแยก
การให้ปุ๋ย
• ดินเหนียวสีดำ
ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงกว่า
10 ส่วนในล้านส่วน
ให้ปุ๋ยเคมีสูตร
21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่
โดยโรยข้างแถวหลังปลูก
20-25 วัน ถ้าฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำกว่า
10 ส่วนในล้านส่วน
ให้ปุ๋ยเคมีสูตร
20-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่
หรือสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
รองก้นร่องพร้อมปลูก
และให้ปุ๋ยสูตร
46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่
หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่
โรยข้างแถวหลังปลูก
20-25 วัน
แล้วพรวนดินกลบ
• ดินเหนียวสีแดง
ดินเหนียวสีน้ำตาล
หรือดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล
ให้ปุ๋ยเคมีสูตร
16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
รองก้นร่องพร้อมปลูก
และให้ปุ๋ยเคมีสูตร
21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่
โรยข้างแถวหลังปลูก
20-25 วัน
แล้วพรวนดินกลบ
• ดินร่วน หรือดินร่วนทราย
ให้ปุ๋ยเคมีสูตร
16-16-8 หรือสูตร
15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
รองก้นร่องพร้อมปลูก
และปุ๋ยเคมีสูตร
21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
โรยข้างแถวหลังปลูก
20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ
โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
โรคราน้ำค้าง
หรือโรคใบลาย
• ระบาดรุนแรงในระยะต้นอ่อนถึงอายุประมาณ
1 เดือน
ทำให้ยอดมีข้อ
ต้นแคระแกร็น
ใบเป็นทางสีขาว
เขียวอ่อน
หรือเหลืองอ่อน
ไปตามความยาวของใบ
• พบผงสปอร์สีขาวเป็นจำนวนมากบริเวณใต้ใบในเวลาเช้ามืดที่มีความชื้นสูง
ถ้าระบาดรุนแรงต้นจะแห้งตาย
แต่ถ้าต้นอยูรอดจะไม่ออกฝักหรือติดฝักแต่ไม่มีเมล็ด
• ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วย
เมตาแลกซิล
อัตรา 7 กรัม/เมล็ด
1 กก.
โรคราสนิม
• เกิดได้แทบทุกส่วนของต้นข้าวโพด
ระยะแรกพบจุดนูน
สีน้ำตาลแดง
ขนาด 0.2-1.3 มิลลิเมตร
ต่อมาแผลจะแตกเห็นเป็นผงสีสนิม
ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย
• ในแหล่งที่มีโรคระบาดให้ปลูกพันธุ์ต้านทาน
ได้แก่
นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 3851 หรือสุวรรณ
5
• หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดหวาน
ข้าวโพดข้าวเหนียว
ซึ่งอ่อนแอต่อโรค
และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
แมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
เจาะเข้าทำลายส่วนยอดช่อดอกตัวผู้
และลำต้น
ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต
หักล้มง่าย
เมื่อมีการระบาดรุนแรงจะเข้าทำลายฝัก
พบการทำลายในแหล่งปลูกทั่วไป
การป้องกันกำจัด:
พ่นสารไซเพอร์เมทริน
(15% อีซี)10 มิลลิลิตร/น้ำ
20 ลิตรและไตรฟลูมูรอน(25%
ดับบลิวพี)
30 กรัม/น้ำ 20
ลิตร
หนอนกระทู้หอม กัดกินทุกส่วนในระยะต้นอ่อน
จะทำความเสียหายรุนแรงเมื่อหนอนมีความยาวตั้งแต่
2 เซนติเมตร
หากจำเป็นให้พ่นสารนิวเคลียร์โพลีฮีโดรซิสไวรัส
20-30 มล./น้ำ 20 ลิตร และเบตาไซฟลูทริน(2.5%
อีซี) 40 มล./น้ำ
20 ลิตร
มอดดิน กัดกินใบตั้งแต่เริ่มงอกถึงอายุประมาณ
14 วัน
ทำให้ต้นอ่อนตาย
หรือชะงักการเจริญเติบโต
ต้นที่รอดตายจะเก็บเกี่ยวได้ล่าช้า
ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วย
อิมิดาโคลพริด
(70% ดับบลิวเอส)
5 กรัม/เมล็ด
1 กก./น้ำ 20 ลิตร
สัตว์ศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
หนู ทำลายตั้งแต่เริ่มเป็นฝักอ่อนจนถึงเก็บเกี่ยว
สกุลหนูพุกกัดโคนต้นให้ล้มแล้วกัดกินฝัก
สกุลหนูท้องขาว
ได้แก่
หนูบ้านท้องขาว
หนูนาใหญ่
หนูนาเล็ก
และสกุลหนูหริ่งปีนกัดแทะฝักบนต้น
การป้องกันกำจัด:
หากทำความเสียหายอย่างรุนแรงให้ใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน
คือ ใช้กรงดักหรือกับดัก
ร่วมกับการใช้เหยื่อพิษ
วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
• ไถ 1 ครั้ง
ตากดิน 7-10 วัน
พรวน 1 ครั้ง
แล้วคราดเก็บเศษซาก
ราก เหง้า
หัวและไหล
ของวัชพืชข้ามปี
ออกจากแปลง
• กำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูกด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกล
เมื่อข้าวโพดอายุ
20 - 25 วัน
ก่อนให้ปุ๋ย
• ในกรณีที่กำจัดวัชพืชด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกลไม่มีประสิทธิภาพ
เพียงพอ ควรใช้สารกำจัดวัชพืช
การเก็บเกี่ยว
• เก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดแก่จัด
หรือแห้งหมดทั้งแปลงแล้ว
7 วัน เมล็ดจะมีความชื้นประมาณ
23 เปอร์เซ็นต์
• ถ้าต้องการใช้พื้นที่ปลูกพืชอื่นตามข้าวโพด
ควรเก็บเกี่ยวเมื่อใบข้าวโพด
เปลี่ยนเป็นสีฟางข้าวทั้งแปลง
เมล็ดจะมีความชื้นประมาณ
25 เปอร์เซ็นต์
• ไม่ควรเก็บเกี่ยวข้าวโพดหลังฝนตก
เพราะเมล็ดจะมีความชื้นสูง
ควรปล่อยให้ฝักและต้นข้าวโพดแห้งก่อน
วิธีการเก็บเกี่ยว
• ใช้ไม้หรือเหล็กแหลมแทงปลายฝัก
ปอกเปลือก
แล้วหักฝักข้าวโพด
ใส่กระสอบ นำไปเทกองรวมไว้ในยุ้งฉาง
หรือ
ใช้เครื่องเก็บเกี่ยว
แบบปลิดฝักต่อพ่วงกับรถแทรกเตอร์ขนาด
60-80 แรงม้า เครื่องจะปลิดและรูดเปลือกหุ้มฝักข้าวโพดออก
บรรจุกระสอบโดยอัตโนมัติ
หรือใช้เครื่องเก็บเกี่ยวแบบเกี่ยวนวดอัตโนมัติ
เครื่องจะเก็บรูดฝักข้าวโพด
กะเทาะ และทำความสะอาดคัดแยกเมล็ดดีเก็บในถังจนเต็ม
นำใส
่รถบรรทุกส่งขายพ่อค้า
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
ระดับเกษตรกร
• ตากฝักข้าวโพดบนลานซีเมนต์ที่แห้งและสะอาด
มีแสงแดดจัด
2-3 วัน เพื่อให้ฝักข้าวโพดมีความชื้นในเมล็ดต่ำกว่า
23 เปอร์เซ็นต์
• ฝักข้าวโพดที่มีความชื้นในเมล็ดต่ำกว่า
23 เปอร์เซ็นต์
จะปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซิน
หรือพบในปริมาณน้อยกว่า
50 ส่วนในพันล้านส่วน(ระดับที่พระราชบัญญัติ
ควบคุมอาหารสัตว์
พ.ศ. 2525 กำหนดให้เมล็ดข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบ
ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
มีปริมาณสารอะฟลาทอกซินได้
ไม่เกิน 100 ส่วนในพันล้านส่วน)
• ควรเก็บฝักข้าวโพดไว้ในยุ้งฉางที่มีหลังคาและถ่ายเทอากาศได้ดี
ระดับพ่อค้าท้องถิ่น
• ควรกะเทาะฝักข้าวโพดที่มีความชื้นในเมล็ดต่ำกว่า
26 เปอร์เซ็นต์
ด้วยเครื่องกะเทาะที่มีความเร็วรอบ
8 – 12 รอบต่อวินาที
• หลังการกะเทาะแล้ว
ต้องลดความชื้นเมล็ดข้าวโพดให้เหลือประมาณ
15 เปอร์เซ็นต์
โดยการตากเมล็ดบนลานซีเมนต์ที่แห้งและสะอาด
มีแสงแดดจัด
1-2 วัน และควรทำการกลับเมล็ดทุกครึ่งชั่วโมง
• หากไม่สามารถลดความชื้นของเมล็ดข้าวโพดให้อยู่ในระดับ
15 เปอร์เซ็นต์
เนื่องจากฝนตก
และเมล็ดข้าวโพดมีความชื้นอยู่ระหว่าง
18-30 เปอร์เซ็นต์
จะสามารถชะลอการเน่าเสียและการปนเปื้อนของสาร
อะฟลาทอกซินได้ประมาณ
10 วัน โดยต้องปฏิบัติ
ดังนี้
- นำเมล็ดข้าวโพดมากองไว้ในที่ร่ม
และใช้ผ้าพลาสติกใส
หนา 0.1 มิลลิเมตร
คลุมและทับชายพลาสติกรอบกอง
ด้วยถุงทรายหรือ
ม้วนกระสอบป่าน
แล้วรมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อเมล็ด
1,000 กิโลกรัม
หรือใช้เครื่องดูดฝุ่นหรือเครื่องดูดอากาศ
ดูดอากาศจากภายในกองออก
แล้วรมด้วยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์
อัตรา 0.3 กิโลกรัมต่อเมล็ด
1,000 กิโลกรัม
- หลังจากนั้นต้องนำเมล็ดข้าวโพดไปลดความชื้นให้เหลือ
15 เปอร์เซ็นต์
ภายใน 1-2 วัน
การขนส่ง
• บรรจุเมล็ดข้าวโพดในกระสอบป่านที่สะอาด
เย็บปากถุงด้วยเชือกฟาง
• รถบรรทุกต้องสะอาดและเหมาะสมกับปริมาณข้าวโพด
• ไม่ควรเป็นรถที่ใช้บรรทุกดินหรือสัตว์
มูลสัตว์
ปุ๋ยเคมี หรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
เพราะอาจจะมีการปนเปื้อนของ
เชื้อโรคและสารเคมี
ยกเว้นจะมีการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม
ก่อนนำมาบรรทุกข้าวโพด
• กรณีขนส่งเมล็ดข้าวโพดในฤดูฝน
ต้องมีผ้าใบคลุม
เพื่อป้องกันไม่ให้
เมล็ดข้าวโพดดูดความชื้นจากภายนอก
ซึ่งจะทำให้เกิดเชื้อราและมีการ
ปนเปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซินได้ง่าย
การแปรรูป
• สบู่ขัดผิวข้าวโพด
เมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ผลิตได้
นอกจากจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง
ๆ แล้ว เกษตรกรยังสามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อเสริมรายได้ให้แก่
ครอบครัวได้โดยตรง
เช่น
การนำข้าวโพดมาทำเป็นสบู่ขัดผิว
ในปัจจุบัน กระแสของผู้บริโภคที่กลับมานิยมใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมีเพิ่มขึ้น
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
ได้เล็งเห็นความเป็นไปได้ในการนำเมล็ดข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นส่วนผสมในการทำสบู่
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เป็นที่
รู้จักแพร่หลายภายในประเทศ
จึงเป็นโอกาสดีในการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แปลกแตกต่างไปจากสบู่ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด
รวมทั้งยังเป็นการใช้วัตถุดิบข้าวโพดที่มีอยู่ย่างมากมายให้เกิดประโยชน์อีกด้วย
สบู่ข้าวโพดได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำมันพืชกับน้ำด่างโซดาไฟ
ผลของปฏิกิริยานอกจากจะได้สบู่แล้วยังเกิดกลีเซอรีนซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง
ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น
และมีส่วนผสมที่สำคัญคือเมล็ดข้าวโพดที่บดละเอียด
ผสมลงไปในเนื้อสบู่ในอัตราที่เหมาะสมทำให้สบู่มีเนื้อสากขึ้น
มีคุณสมบัติใน
การขัดผิว
กำจัดสิ่งอุดตันรูขุมขน
ดูดซับความมันเหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวมัน
สำหรับสูตรที่ได้คิดค้นนี้ยังได้ผสมงาบด
ซึ่งเมล็ดงามีวิตามินอีช่วยชะลอ
ผิวเหี่ยวย่น
นอกจากนี้ยังได้เพิ่มกลีเซอรีนและวิตามินอีเพื่อให้ความชุ่มชื้น
และถนอมผิวมากยิ่งขึ้น
สบู่ข้าวโพดสามารถทำได้ในครัวเรือน
เป็นสบู่ที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ
แตกต่างจากสบู่ที่จำหน่ายในท้องตลาดซึ่งผลิตในระบบอุตสาหกรรมไม่มีการใส่สารเพิ่มฟอง
สี
หรือสารกันบูด
ที่อาจระคายเคืองต่อผิว
จึงเหมาะสำหรับผุ้ที่มักมีผิวแพ้ง่าย
และจะใส่เฉพาะสารเคมีบางชนิดที่จำเป็นเท่านั้น
ได้แก่
น้ำหอม
เนื่องจากผุ้ใช้
โดยทั่วไปมักติดในกลิ่นของสบู่ที่จะต้องหอม
แต่สบู่ที่ไดจากปฏิกิริยา
โดยตรงนั้นจะมีกลิ่นเฉพาะตัวที่ผู้ใช้ทั่วไปมักไม่ชอบ
อย่างไรก็ตามจะเห็น
ได้ว่าวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นวัตถุดิบธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่
การใช้สบู่ชนิดนี้
จึงเท่ากับเป็นการรักษาสภาพแวดล้อม
ลดการใช้สารเคมี
ใช้ทรัพยากร
ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
และยังสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตอีกด้วย
|